วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ Constructivism (Learning theory)


Constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างองค์ความรู้มาจากประสบการณ์ของผู้เรียนเอง ตามแนวความคิดของเพียเจต์ การเรียนรู้เกิดจากการค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจากความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละบุคคลได้สร้างความรู้และทำให้เข้าใจโดยผ่านกระบวนการของความสมดุลซึ่งกลไกของความสมดุล เป็นการปรับตัว ของตนเอง ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ในสภาพสมดุล ประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ1.การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation) 2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation)
ธรรมชาติของผู้เรียน
ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์เดิม
ภูมิหลังและวัฒนธรรมของผู้เรียน
ถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น และภูมิหลังมีอิทธิพลมาก
จากมุมมองSocial Constructivism เป็นสิ่งสำคัญที่เป็นภูมิหลังและวัฒนธรรมของผู้เรียน ตลอดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นพื้นหลังนี้ยังช่วยให้ความรู้และความจริงที่ผู้เรียนสร้างได้
ความรับผิดชอบในการเรียนรู้
ผู้เรียนควรมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ ต่ออาจารย์ผู้สอน และต่อสถานที่ต่อที่ผู้เรียนได้เรียนและเล่น
แรงจูงใจในการเรียนรู้
แรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองที่จะทำให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ
บทบาทของครูผู้สอน
ครูผู้สอนควรจะปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยครูจะมีวิธีการสอนโดยใช้คำถาม การบรรยาย ให้คำตอบตามที่หลักสูตรกำหนด ครูควรจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อกระบวนการคิดของนักเรียน และสอนแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีหลายแบบ เช่น Reciprocal Questioning, Jigsaw , Sctrured Controversies
ธรรมชาติของการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทำให้ผู้เรียนไค้ค้นพบความรู้ และข้อเท็จจริงได้ด้วยตนเอง

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และนำมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่
ความร่วมมือระหว่างผู้เรียน
ผู้เรียนมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน ควรร่วมกันในการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแก้ปัญหา ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทางสติปัญญาด้วย
การประเมินผล
การประเมินผลเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและวัดความสำเร็จของผู้เรียนให้มีคุณภาพ ความคิดเห็นที่สร้างขึ้นโดยการประเมินจะทำหน้าที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป
ขอบเขตของการจัดการเรียนรู้
ความรู้ควรจะค้นพบโดยภาพรวมในสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายผู้เรียนโดยการสร้างแรงจูงใจ และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน โครงสร้างความรู้ควรจะมีความยืดหยุ่น และวิธีที่ทำได้ดีที่สุด คือการทำโดยการปฏิบัติ ทดลอง ค้นพบ และสรุปได้ด้วยตนเอง และผู้สอนจะต้องมีหน้าที่ประเมินผลตลอดเวลา




นางสาวจรินทร จันทร์เพ็ง 5314650037
นักศึกษาปริญญาโท ภาคพิเศษ วิทยาศาสตร์ศึกษา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น